Monday, August 30, 2010

ปรับและเปลี่ยนกับ Humanized Health Care

ปรับและเปลี่ยนกับ Humanized Health Care

บางคนอาจสงสัยว่าต้องปรับและเปลี่ยนอะไร? ถึงจะดีกับสุขภาพของเรา
การที่ได้เข้ามารับผิดชอบดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวานซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลให้คำแนะนำ และให้พวกเขา
มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและ การใช้ยารักษาโรค
ที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
และลดหรือเลิกพฤติกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับโรคที่เป็น

เช่น การรับประทานอาหาร รสเค็ม มัน หรือ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย ในการปรับเปลี่ยนหลายๆอย่าง

ย่อมเป็นการยากที่จะทำให้คนๆหนึ่งที่เคยรับประทานอาหารเค็ม รสจัด ทุกวัน
ต้องหยุดรับประทานเค็ม เพราะไตวาย หรือคนที่ชอบรับประทานขนมหวาน
หลังมื้ออาหารแล้วต้องหยุดรับประทาน และ ต้องได้ได้ยินแต่คำว่า
เลิกรับประทานอาหารหวาน ขนหวานทุกอย่างเพราะตอนนี้

“คุณ...มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง”และ
“วันนี้คุณควรจะกลับไปปรับเรื่องอาหารการกินใหม่นะต้องลดแป้งและของหวานและออกกำลังกายด้วยนะ”
ผู้ป่วยจะรีบบอกว่า ฉันไม่ได้กินหวานไม่ได้กินข้าวเยอะเลยนะแต่ ทำไมน้ำตาลจึงไม่ยอมลดเลยคะ

ตอนนี้เรื่อง Humanized Health Care เริ่มเข้ามามีบทบาท
ในการดูแลผู้ป่วยทุกคน คือการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

สุขภาพแบบองค์รวมคือการรวมทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ

ในแต่ละวันคนไข้ที่เดินเข้ามาในโรงพยาบาล ล้วนแต่มีปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกาย
และไม่น้อยมีปัญหาด้านจิตใจด้วย บางคนมาโรงพยาบาลเพียงเพราะที่บ้านเหงาไม่มีคนดูแลมาโรงพยาบาล
เพราะมีเพื่อนคุย
บางคนมาทุกวันจนรู้จักหมอ พยาบาลทุกคน .....
หัวใจของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คือการเคารพในศักดิ์ศรี และ
ความมีคุณค่าของความเป็นมนุษย์





การจัดทำโครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2553ขึ้น
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มโรคเรื้อรัง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
บางทีการเรียนรู้แบบเดิมๆสอนให้เขารู้ว่าต้องรับประทาน หรือ ปฏิบัติตัวแบบไหน
แต่เราไม่เคยลงไปดูว่าทำไมผู้ป่วยเขายังรับประทานเค็มหรือหวานมากๆทั้งที่รู้ว่ามีผลต่อสุขภาพของเขาเอง....

เกิดคำถามว่า ทำไม? ..ทำไม?


เราเริ่มทำแบบประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม





พญ.อรวรรณ ภู่ระย้า เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง






กิจกรรม การเข้าฐาน...




สิ่งที่ทุกคนต้องมีเหมือนกันคือ
ลูกโป่งใส่น้ำ ร้อยเชือกห้อยคอ (คือโรคที่ทุกคนเป็นอยู่)





ฟักเขียว(โรคนี้เป็นจากกพันธุกรรม)ที่ต้องแบกไปด้วย





และแต่ละฐานจะมีลูกมะพร้าวน้ำหอม(เป็นภาวะแทรกซ้อน)จากโรคที่เป็นอยู่





เราได้มีส่วนในการทำฐาน 3 ต คือ ตา ไต ตีน หรือพูดเพราะๆ เท้าค่ะ


ตา : คือการบริหารสายตา และระบบประสาทการรับรู้และการสั่งการของกล้ามเนื้อดดยใช้นิ้วชี้แตะกับนิ้วชี้ฝ่ายที่นั่งตรงข้าม





ไต: คือการแนะนำท่านวดไตง่ายๆมาฝาก โดยนวดฝ่ามือให้ร้อนแล้วถูบริเวณหลังตำแหน่งไต2ข้าง





ตีน(เท้า) : คือการใช้กระจกบานใหญ่ตรวจเท้าตัวเองก่อนนอนว่ามีแผลหรือเปล่า




แถมคลายเครียดถ้านอนไม่หลับในผู้สูงอายุ คือ
การหัวเราะดังๆและ นานที่สุด ในกลุ่มคือคนชนะ





ตอบคำถาม2ข้อ ตอบถูก ได้มะพร้าว 1ลูก ถ้าตอบผิด ได้มะพร้าว2ลูก










วนจนครบ5ฐาน ซึ่งมีฐานของกลุ่มเวชปฎิบัติชุมชน ห้องยา กายภาพบำบัด ห้องชันสูตร
และแผนกผู้ป่วยนอกและงานสุขภาพจิต สมาชิกทุกคนมาร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้
แล้วรับรางวัลชนะเลิศและรางวัลชมเชยกันทุกคนกล่าวปิดงาน และร่วมรับประทานอาหารด้วยกันก่อนกลับบ้าน....
















หลังจากได้ทำโครงการครั้งนี้.... ทำให้เราเข้าใจว่า
สิ่งที่เขาจะทำได้ดีที่สุด คือ สิ่งที่เขา....อยากทำต่างหาก ไม่ใช่ สิ่งที่คนอื่นบอก...



From Desktop