Wednesday, December 26, 2007

มารู้จักโรคตับอักเสบบีกันเถอะ

วันนี้มีความรู้เรื่องโรคตับอักเสบบีที่พบกันบ่อยบางคนอาจสงสัยว่าโรคนี้ติดต่อกันได้อย่างไรมีอาการแสดงของโรคแบบไหนตลอดจนการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อเป็นโรคแล้วอย่างไรก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อนนะคะ


ตับอักเสบบี คือ การอักเสบของเซลล์ตับอันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ (HBV) การอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดผังผืด ตับแข็งและมะเร็งตับได้




ไวรัสตับอักเสบบี มีความสำคัญกับเราหรือไม่

ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ่โรคนี้เมื่อเป็นแล้วก่อให้เกิดอันตรายที่สำคัญตามมาได้แก่ ตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งของตับ พวกที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี มีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี ถึง 223 เท่า อัตราความชุกในประชาชนทั่วไปประมาณร้อยละ 8-10 คนที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบ บี มีประมาณ 5 ล้านคนในประเทศไทย สำหรับผู้ที่เป็นพาหะของโรค โอกาสที่จะกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบให้หมดไปมีน้อย พบร้อยละ 1-2 ต่อปี โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิดบี นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่น่าวิตก ทำให้เกิดการเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิตได้ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องหาวิธีการควบคุมและป้องกันที่เหมาะสม

ไวรัสตับอักเสบ ติดต่อกันอย่างไร

การติดต่อของโรคนี้ติดต่อกันได้ ที่สำคัญมี 4 ทาง คือ

1. ติดต่อทางเลือด โดยได้รับเชื้อจากการได้รับเลือดจากผู้ที่เป็นโรคนี้ ปัจจุบันเราพบการติดต่อทางนี้น้อยลง เพราะเรามีการตรวจเลือดก่อนที่จะนำมาให้คนไข้



2. ติดต่อทางน้ำลาย การรับประทานอาหารร่วมกับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีโอกาสจะติดต่อกันได้ง่าย เพราะการรับประทานอาหารของคนไทยมักจะลืมใช้ช้อนกลาง ทำให้มีโอกาสติดโรคนี้ได้ง่าย



3.ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสจะติดโรคนี้ได้ โดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์ การสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง การได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ไม่จำเป็นก็อาจเป็นสาเหตุได้แต่พบได้น้อยมากในการตรวจกรองของธนาคารเลือดในปัจจุบัน



4. ติดต่อจากมารดาสู่บุตร การติดต่อนี้จะมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด จึงควรมีการตรวจเลือดมารดาในตอนที่ฝากครรภ์ ถ้าพบว่ามารดามีเชื้อโรคนี้อยู่ ควรให้วัคซีนแต่ทารกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้เกือบร้อยละ100



อาการของโรคแบ่งเป็น3ระยะ
1. ตับอักเสบเฉียบพลับ
ในประเทศไทยผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันราว 1/3 เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหารตามด้วยคลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นชายโครงขวา จากตับที่โตแล้วจึงสังเกตว่าปัสสาวะเข้ม ตาเหลืองในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 90-95 จะหายเป็นปกติพร้อมกับร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ บี มีเพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้น ที่ไม่สามารถกำจัดไวรัสออกไปจากร่างกายได้เป็นตับอักเสบเรื้อรังและน้อยกว่าร้อยละ 1 อาจเกิดอาการตับวายได้
2.ตับอักเสบเรื้อรัง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจร่างกายประจำปี พบความผิดปกติในการทำงานของตับ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังที่มีการอักเสบและการทำลายเซลล์ตับมากๆ โรคจะดำเนินต่อไปทำให้ตับเสื่อมสมรรถภาพลง จนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

3.ตับแข็ง
ซึ่งมักมาพบแพทย์จากอาการแทรกซ้อน เช่น เท้าบวม ท้องบวม อาเจียนเป็นเลือด หรืออาจกลายเป็นมะเร็งตับ



การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ บี สามารถกระทำได้โดย

1. การตรวจการทำงานของตับโดยการหาเอ็นไซม์ที่ปล่อยออกมาจากเซลล์ตับที่อักเสบ คือ SGOT (AST) และ SGPT (ALT) ปกติระดับเอ็นไซม์สองตัวนี้จะน้อยกว่า 40 ถ้าสูงผิดปกติบ่งบอกถึงการอักเสบของตับ


2. การตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
ซึ่งมีการตรวจทั้งการหาแอนติเจนของไวรัส และการตรวจทางน้ำเหลืองซึ่งถ้าให้ผลบวกแสดงถึงการติดเชื้อที่มีการแบ่งตัวของไวรัสอย่างรวดเร็วมีปริมาณไวรัสมาก นอกจากนี้อาจมีการตรวจหาไวรัสด้วยวิธีอื่น เช่น การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในเลือด ซึ่งให้ผลแม่นยำกว่า และสามารถบอกปริมาณจากไวรัสได้

3. การตรวจพยาธิสภาพของตับโดยการใช้เข็มเล็กๆ เจาะดูดเอาเนื้อตับชิ้นเล็กๆ ออกมาตรวจ การตรวจนี้จะมี ประโยชน์มาก ในการประเมินความรุนแรงของตับอักเสบ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและการพยากรณ์โรค

4. การตรวจทางรังสีวิทยา
เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound) หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ อาจ ได้ประโยชน์ในการประเมินว่ามีตับแข็งหรือก้อนผิดปกติในตับหรือไม่

การรักษาและการปฏิบัติตัว

1. ผู้ป่วยที่มีอาการการแก้ตับอักเสบเฉียบพลัน จะค่อย ๆ ทุเลาขึ้นเองเมื่อพักผ่อนและรับประทานอาหารให้พอเพียง ผู้ป่วยบางรายเข้าใจว่าการดื่มน้ำหวานในปริมาณมาก ๆจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะน้ำตาลจะไปเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับ และอาจทำให้ตับโตจุกแน่นกว่าปกติ



2. ส่วนมากผู้ป่วยที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรังจะไม่แสดงอาการ แพทย์จะใช้อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ซึ่งเป็นยาฉีด โดยใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 4 - 6 เดือนจึงจะเริ่มเห็นผล นอกจากนั้นอาจใช้ยารับประทาน ลามิวูดีน มีผลข้างเคียงน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการรับประทานยานานๆ อาจมีโอกาสทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้และที่สำคัญคือทั้งยารักษาอินเตอร์เฟอรอน และลามิวูดีนใช้ไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่การทำงาน ของตับเป็นปกติหรือกลุ่มพาหะ




3. ผู้ป่วยควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งในตับอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรังพบว่าการดื่มสุราทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ในตับอักเสบเรื้อรังยังทำให้ตับเสื่อมสมรรถภาพจนเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับเร็วขึ้น
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น เพราะยาเกือบทุกตัวจะถูกทำลายที่ตับ การใช้ยา ต่างๆ จึงควรระมัดระวังและควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าเป็นตับอักเสบอยู่ด้วย การใช้ยาสมุนไพร หรือยาสามัญประจำบ้านต่างๆ อาจทำให้โรคลดลงได้
หมั่นตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ แม้แต่ในผู้ป่วยที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรได้รับการตรวจเป็นระยะ ๆอย่างน้อยทุก 4-6 เดือน เพราะบางครั้งจะมีการอักเสบเกิดขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่เป็นชาย อายุมากหรือมีตับแข็งร่วมด้วย ควรติดตามเป็นระยะๆ เพื่อตรวจหามะเร็งตับระยะแรกเริ่มต้น และต้องออกกำลังกายด้วย
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การรับประทานยาคุมกำเนิดจะ ไม่ส่งผลกระทบต่ออาการของโรค และผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี สามารถตั้งครรภ์ได้



ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ทั้งที่ทำจากเลือดและผลิตโดยกรรมวิธีพันธุวิศวกรรม โดยฉีดวัคซีน 3 เข็ม เข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน โดยมีระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ประมาณ 1 เดือน ส่วนเข็มที่ 3 ควรห่างจากเข็มแรก 6 เดือน ซึ่งวิธีนี้ได้รับความนิยมมากกว่า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกับปกติจะเกิดภูมิต้านทานสูงถึงร้อยละ 90 - 95 หากฉีดครบแล้วไม่มีความจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก เพราะเชื่อว่ามีภูมิต้านทานตลอดชีวิต
ตอนนี้ใกล้ปีใหม่แล้วขอให้ทุกท่านมีความสุขและสุขภาพแข็งแรงสวัสดีปีใหม่ค่ะ

2 comments:

Tagoo said...

บำรุงตับ ไต และถุงน้ำดี อาติโช๊ค พืชอาหาร
Artichoke (ATISO) อาร์ติโช๊ค

อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี” ในยุคโบราณอาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก

4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาส์

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม
www.artichoke.igetweb.com หรือ www.smethai.com/shop/gms
Tel: 081 627 1521, 02 888 9954 คุณวัลลภา

Anonymous said...

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากกับคนที่ำกำลังเป็นไวรัสตับอักเสบบีแล้วตั้งครรภ์ แต่อย่างเรียนถามเพิ่มเติมว่า ตัวยาที่ใช้รักษาไม่มีผลกับทารกในครรภ์จริง ใช่หรือไม่ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง < captain@reviewsblogs.com >