Sunday, December 7, 2008

โรคซีวีเอส

โรคซีวีเอส .. โรคของคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานานๆ :



เพื่อนที่รู้จักกันเริ่มมีปัญหาเมื่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
บ่นว่าแสบตามากๆทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยมีอาการ..
บางทีร่างกายเราเมื่อมีอาการผิดปกติ..ร่างกายเราจะเริ่มฟ้องถ้าคนที่สังเกตตัวเอง
จะพบความบกพร่องเล็กๆน้อยๆที่เรามักมองข้ามไป..จนมีอาการมากๆต้องรีบไปพบแพทย์

ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดตา แสบตา ตาพร่ามัวแม้คุณจะปิดมันไปนานแล้วก็ตาม
และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย
อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป
เรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า "คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม" หรือ
"โรคซีวีเอส" ( Computer Vision Syndrome )
อาการปวดตาและแสบตาเกิดขึ้น เพราะมีสมาธิกับข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป
จนลืมกะพริบตา แก้ไขได้โดยให้กะพริบตาบ่อยๆ
เมื่อรู้สึกตัวว่าปวดตาหรือแสบตา อาจใช้น้ำตาเทียม (artificial tear) หยอดตาบ้าง
ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาและแสบตาได้เช่นกัน
สำหรับอาการอื่นๆ เช่น ตามัว หรือ ปวดหัว จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
เมื่อพักแล้วก็จะทุเลา และจะมีอาการต่างๆดีขึ้น
สิ่งสำคัญที่ต้องนึกถึงเสมอคือ การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องจะสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้

วิธีการแก้ไขง่ายๆ



*เพียงแค่คุณละสายตาไปยังสิ่งอื่นทุกๆ15นาทีโดยอาจเลือกมองจุดที่ทอดไปตามทางเดิน
หรือหน้าต่าง 10-20 ฟุต แค่เพียง 20วินาที จากนั้นก็กลับมาโฟกัสในห้องทำงานเหมือนเดิม

*บริหารดวงตาโดยกลอกตาไปมาเปลี่ยนทิศทางไปเรื่อยๆ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อตา

*ถ้ามีอาการปวดตา บรรเทาอาการปวดโดยการถูฝ่ามือเข้าด้วยกันประมาณ 10-15 วินาที เพื่อให้มืออุ่นขึ้น
แล้วนำฝ่ามือมาปิดที่หนังตาสักพักหนึ่งเพื่อให้สายตาพักจากแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์
และความร้อนทำให้การไหลเวียนของโลหิตที่ดวงตาดีขึ้น

*แสงสว่างไม่ให้มีแสงสะท้อนมาที่จอคอมพิวเตอร์ และปรับแสงสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป

* ควรนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 16-30 นิ้วจากดวงตา
และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา
จัดเป็นท่านั่งทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุด และพึงระมัดระวังปัญหาปวดหลัง ปวดไหล่
ปวดคอ ที่มักเกิดขึ้นร่วมกันได้บ่อย ๆ

***อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
*ไอเดียเด็ดๆเพื่อชีวิตที่ง่ายและเร็วขึ้นของพีพีบุ๊คส์
*http://www.bangkokhealth.com/homesafety_htdoc/homesafety_health_detail.asp?Number=9281
*http://rx12.wsnhosting.com/panpup/cvs.html

No comments: